หลักสูตรสถานศึกษาแท้เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้กำหนดหลักการใหญ่ในแนการ จัดการศึกษาว่า "การจัดการศึกษาต้องถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด" และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เอง มีหลักการข้อหนึ่งว่าการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาให้ถือว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด ด้วยเช่นกัน"ผู้เรียนสำคัญที่สุด" จึงเป็นกรอบหลักของการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดการเรียน รู้ของโรงเรียนที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึง การปฏิรูปการเรียนรู้ และการปฏิรูปหลักสูตรในโรงเรียนจะบรรลุผลได้ก็ด้วยตระหนักว่า "ผู้เรียนสำคัญที่สุด" นั่นเองการจัดการศึกษาที่ "ผู้เรียนสำคัญที่สุด" ก็คือ การกำหนดหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งประโยชน์ สูงสุดแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุขโดยผ่านกระบวนการที่เป็นไปตามธรรมชาติ เต็มตามศักยภาพ และสนองความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนจากแนวทางใหญ่ของการศึกษา คือ สาระสำคัญที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่นำสู่การประกาศใช้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งการนำหลักสูตรแกนกลางนี้ไปใช้สถาน ศึกษาต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขึ้นเอง โดยมีองค์ประกอบทั้งที่กำหนดจาก หลักสูตรแกนกลางข้างต้น และที่สถานศึกษาต้องกำหนดจากส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาความต้องการของ โรงเรียน ของนักเรียนของชุมชน และสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ด้วย ความเป็นหลักสูตรสถานศึกษาจึงสมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ และทั้งนี้ทั้งนั้น"ผู้เรียนสำคัญที่สุด" ยังคงเป็นฐานสำคัญที่สุดที่หลักสูตรสถานศึกษาต้องคำนึงถึงภาพรายละเอียดของหลักสูตรสถานศึกษาที่จะแสดงให้เห็นถึงการยึดถือว่า " ผู้เรียนสำคัญที่สุด"หรือ "เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ" นั้น จะดูได้จากองค์ประกอบแต่ละส่วนของหลักสูตรสถานศึกษานั้น ๆ ล้วนสะท้อนถึงการมีเป้าหมาย การมีกระบวนการและความพยายามที่ชัดเจน การพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง อาทิ
วิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมาย ของหลักสูตรสถานศึกษานั้น ๆ จะกล่าวถึงความพยายามที่จะพัฒนาผู้เรียนอย่างดีที่สุดเท่าที่โรงเรียนจะมีศักยภาพ ด้วยเจตนารมณ์ที่ชัดเจนบนฐานความเข้าใจผู้เรียน และชุมชนของโรงเรียนเป็นอย่างดี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่โรงเรียนกำหนดจะกำหนดบนฐานความเป็นจริงและความเป็นไปได้ ของการพัฒนานักเรียนที่โรงเรียน มิใช่กำหนดอย่างเลื่อนลอยหรือไม่มีฐานข้อมูลพอ
โครงสร้างกรอบสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของหลักสูตรสถานศึกษา ก็กำหนดอย่างมีเหตุผลถึงความใส่ใจในการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ มิใช่คำนึงถึงแต่ความสะดวกของครูหรือการบริหารของโรงเรียน
การกำหนดสาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ ของหลักสูตรสถานศึกษาก็ กำหนดอย่างเข้าใจผู้เรียนแต่ละคน แต่ละกลุ่มเป็นฐาน ประกอบกับกำหนดอย่างพยายามให้ผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาได้อย่างแท้จริง ตามธรรมชาติ เช่น จัดอย่างบูรณาการและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ ซึ่งก็คือ กิจกรรมการเรียนรู้ และการจัดแหล่งเรียนรู้ย่อมหลากหลาย อีกการระดมทรัพยากรมุ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลักและ
การกำหนดแนวการวัดประเมินผล ของหลักสูตรสถานศึกษานั้นก็จะเป็นไปอย่างรอบคอบเน้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องมากกว่าแค่การตัดสินเลื่อนชั้น และเป็นไปตามหลักการประเมินตามสภาพจริง มิใช่แค่ความสะดวกของการประเมิน เป็นต้นการกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดจากข้อมูลบริบทของสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ด้านผู้เรียน ชุมชนและสภาพเป็นจริงต่างๆ ของสถานศึกษา อีกมุ่งประโยชน์ต่อผู้เรียนดังกล่าวนี้ จะเป็นหลักประกันสู่ความเป็นหลักสูตรสถานศึกษาแท้จริงได้
อย่างไรก็ตามจุดสะท้อนสำคัญของความเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ชัดเจนอีกจุด หนึ่งคือ การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา นอกจากการวิเคราะห์กำหนดจากมาตรฐานช่วงชั้นตามหลักสูตรแกนกลาง(หลักสูตรการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน) แล้ว ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือเชิงบูรณาการก็ตาม สถานศึกษาอาจกำหนดเพิ่มเติมตามความต้องการจำเป็นเฉพาะของสถานศึกษาโดย วิเคราะห์จากวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่กำหนดไว้ก่อนหน้า ผนวกกับบริบทด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา แล้วกำหนดสาระการเรียนรู้ตามมาที่มีทั้งสาระการเรียนรู้แกนกลาง และสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นหรือ บางสถานศึกษาวิเคราะห์แล้วมิได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเพิ่มเติม อะไรจากที่วิเคราะห์กำหนดจากมาตรฐานช่วงชั้น แต่เน้นกำหนดที่สาระการเรียนรู้รายปีให้เหมาะสมแทนก็น่าเป็นไปได้
ทั้งนี้สาระการเรียนรู้รายปีของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือกำหนดแบบ บูรณาการก็ตาม สาระการเรียนรู้หลักจะเป็นไปตามความสอดคล้องกับมาตรฐานช่วงชั้นและผลการ เรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนกตามหลักสูตรแกนกลาง และสาระการเรียนรู้อีกลักษณะ คือ สาระการเรียนรู้ที่กำหนดบนฐานข้อมูลของสภาพสถานศึกษาหรือชุมชน ท้องถิ่นรอบสถานศึกษา โดยสาระท้องถิ่นนี้ต่างก็กำหนดเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังข้างต้น และบรรลุมาตรฐานช่วงชั้นที่หลักสูตรแกนกลางกำหนดด้วย ซึ่งการกำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นลักษณะนี้จะเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดไว้ในมาตราที่ 27 วรรค 2 ชัดเจนส่วน ในขั้น วิเคราะห์กำหนดสาระการเรียนรู้มีหลายโรงเรียนได้ใช้ตารางดังตัวอย่างต่อไป นี้ช่วยในการวิเคราะห์กำหนดสาระการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือบูรณาการรวม
จากตัวอย่างตาราง ช่วยวิเคราะห์นี้ จะช่วยให้สถานศึกษากำหนดสาระการเรียนรู้ ทั้งสาระการเรียนรู้แกนกลางที่สถานศึกษาวิเคราะห์กำหนดเองจากหลักการ ทฤษฎีกลางๆ ของแต่ละรายวิชาหรือวิเคราะห์กำหนดโดยดูเทียบจากตัวอย่างที่กระทรวง ศึกษาธิการจัดทำเสนอเป็นตัวอย่างให้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้แกนกลางนี้แต่ละสถานศึกษาอาจกำหนดคล้ายกันได้ แต่สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ละสถานศึกษาจะมีความแตกต่างกัน และจะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะบ่งบอกความเป็นหลักสูตรสถานศึกษาแท้ ที่มิใช่หลักสูตรแกนกลางเหมือนกันทั้งประเทศ มิใช่หลักสูตรเขตพื้นที่หรือจังหวัด และมิใช่หลักสูตรกลุ่มโรงเรียนที่หลายโรงเรียนเหมือนๆ กันโดยมิได้คำนึงถึงว่าเหมาะกับโรงเรียนตนเอง เหมาะกับนักเรียนของตนเองหรือไม่
หลัก สูตรสถานศึกษา แท้นี้เอง จะมีโอกาสเหมาะสมและเอื้อประโยชน์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนและชุมชนได้มาก ทั้งหลักสูตรสถานศึกษานี้ได้คำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญตลอดทุกองค์ประกอบดัง กล่าวในตอนต้นก็จะเป็นหลักสูตรตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ หรือเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาไทย และหรือหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ จะเป็นแผนการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่จะนำพาสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ได้ อย่างชัดเจนบนพื้นฐานของความเหมาะสมกับผู้เรียน และชุมชนที่แท้จริง ซึ่งจะยังผลให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้ได้เหมาะสมกับศักยภาพและธรรมชาติของเขาเหล่านั้น อันจะส่งผลให้ผู้เรียนได้ประโยชน์ สูงสุดได้ และภาพเหล่านี้ก็คือ ภาพของ "หลักสูตรสถานศึกษาแท้เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ"
ที่มา : หลักสูตรสถานศึกษาแท้เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ{jcomments on}
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น