วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การศึกษาต่อต่างประเทศ

การศึกษาต่อต่างประเทศ

             บทความเกี่ยวกับการศึกษาต่อต่างประเทศ Date : 2015-11-11 10:48:49

          ไปเมืองนอกได้อะไรกลับมา   

          อะไรคือสิ่งแรกที่คุณนึกถึงเวลาได้ยินคำว่า " เด็กนอก "   เด็ก มั่น  ภาษาดี  เก่ง  ดูไฮโซ  เท่  ฉลาด  บ้านรวย  อนาคตไกล    นี่คือมุมมองดีๆของคนทั่วไปมองคนที่มีโอกาสไปเรียนต่อต่างประเทศ  ความจริงคือ  มันมีอะไรที่นอกเหนือจากนั้น
         ยังมีคนไปเมืองนอกแล้วภาษาไม่ดีขึ้นเลย  เรียนไม่จบ  ไม่ได้ฉลาด  เรียนไม่เก่ง  แต่พวกเขาทั้งหมดมีมุมมองในการมองโลกใบเดียวกันนี้  แตกต่างไปจากเดิม  มีความมั่นใจที่อยู่ท่ามกลางชาวต่างชาติตามลำพัง ได้ประสบการณ์ทั้งดีและเลวร้ายติดดตัวกลับมา เลือกใช้มันในการดำเนินชีวิตด้วยหนึ่งสมองสองมือของตัวเอง  ถ้าไม่ออกไปนอกบ้านก็ไม่มีวันได้รู้จักโลก

ไปเมืองนอกเพื่ออะไร

         การไปเรียนต่อต่าง ประเทศนับวันจะยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศในแถบยุโรป หรือในแถบประเทศเอเชียที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่าง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย  หรือ มาเลเซีย

         บางคนให้เหตุผลแห่งการไปเรียนต่อต่างประเทศเพื่อฝึกฝนภาษาให้เก่งขึ้นกว่า อยู่เมืองไทย  ไปศึกษาหาความรู้ในสาขาวิชาต่างๆโดยเฉพาะสาขาที่ในเมืองไทยไม่มีเปิดสอน  บางคนส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศเพียงเพราะอยู่ที่เมืองไทย  ทำตัวไม่น่ารัก  ไม่สนใจเรียน  วันๆเอาแต่เที่ยวไม่คิดจริงจังกับอะไำร  บางคนถูกส่งไปเมืองนอกเพราะที่บ้านต้องการสร้างอิมเมจว่ามีดีกรี ดูดีกว่าเด็กคนอื่น

       การเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศที่มีมากมายหลายเหตุผล  ทำให้ผลที่ตามมาก็มีหลากหลายอารมณ์ไปด้วย  ทั้งประเภทเรียนจบ เกรดสวย ภาษาดี  มีเพื่อนต่างชาติมากมาย หรือไม่จบอะไรสักอย่าง มีปัญหาชีวิต  ทางบ้านต้องสูญเสียเงินทองไปมากมาย โดยไม่ได้อะไรกลับมาก็มี  ดังนั้น  การ ไปเมืองนอกจึงต้องมีเป้าหมาย  ต้องรู้จักปรับตัว  รู้จักแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล และต้องเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา  การไปเมืองนอกของเราจึงจะไม่ใช่เรื่องเปล่าประโยชน์


          เตรียมความพร้อม

          กว่าจะไปเรียนต่อต่างประเทศแต่ละที  มันก็ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมกันก่อน  ทั้งเรื่องจิตใจคนไป  ต้อง เข้าใจว่าเราไปเพื่ออะไร  ต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศนั้นๆ  ต้องหาข้อมูลโรงเรียน หรือหาสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยที่หมายปองเอาไว้และมีความรู้ทางภาษาต่างประเทศไว้บ้าง ในกรณีที่เราต้องเรียนภาษาเพิ่ม เติม ไม่ว่าจะเป็น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เกาหลี  อาหรับ  หรือรัสเซีย ฝรั่งเศส หรือเยอรมันก็ตาม
          เพราะการเรียนรู้ภาษาเบื้องต้นไปก่อนบ้าง จะทำให้เรามีความสะดวกในการใช้ชีวิตช่วงแรกของการไปอยู่ต่างประเทศ  เพราะการที่เราไม่มีความรู้ทางด้านภาษานั้นๆเลย  ตั้งใจไปเรียนภาษาที่ประเทศนั้นๆเพียงอย่างเดียว อาจทำให้ยุ่งยากตามมาพอสมควรเลยล่ะ

          นอกจากคนที่ตั้งใจจะไปเทคคอร์สทางด้านภาษาอย่างเดียวแล้ว  ยังมีนักเรียนไทยจำนวนมากที่เดินทางไปศึกษาหาความรู้ในระดับชั้นต่างๆแบบ จริงจัง  โดยเฉพาะผู้ที่ไปศึกษาในระดับปริญญา ที่ต้องใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆดีพอสมควร มีทักษะทางภาษาพร้อมเพียงพอที่จะเรียนรู้เรื่องราวต่างๆเป็นภาษาวิชาการได้ สามารถสื่อสาสรความคิดกับอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

          ทำให้ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญา  ทางสถาบันการศึกษาต่างๆจึงต้องกำหนดคุณสมบัติของผู็้สมัครว่าต้องมีผลคะแนน สอบวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS หรือในผลคะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอื่นๆ  ตัวชี้วัดความสามารถทางภาษาของเราเป็นสิ่งบอกให้คนอื่นๆรู้ว่า เราสามารถเรียนในสถาบันที่ใช้ภาษาต่างประเทศในการเรียนการสอน ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีเพียงพอหรือไม่  เพราะถ้าเราไม่มีทักษะทางด้านภาษาดีพอ สื่อสารกับอาจารย์ไม่ได้  เราก็ไม่สามารถศึกษาต่อได้นั่นเอง

อุปสรรคคือหนทางสู่การเติบโต

          คนที่ตัดสินใจไปอยู่หรือศึกษาต่อต่างประเทศ พึงระลึกไว้เสมอเลยว่า เราต้องไปเจอกับสิ่งต่างๆมากมายที่ประดังเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัว  เนื่องจากสภาพแวดล้อมรอบตัวไม่ได้เป็นสิ่งที่เราเคยชิน  สภาพภูมิอากาศ  สภาพภูมิประเทศ  อาหารการกิน  การแต่งกาย  ภาษา  เพื่อน  การเรียน ที่อยู่ การใช้จ่ายเงิน การบริหารเวลา ประเพณีและวัฒนธรรม

          ทุกสิ่งทุกอย่างเราต้องเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อใช้เป็นทุนความรู้นำมาใช้ปรับตัวและการเข้าใจสภาพสังคมและผู้คนของ ประเทศที่เราเดินทางไป เพราะถ้าสมารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดี เราจะสามารถปรับสภาพการใช้ชีวิต จากเดิมที่อยู่เมืองไทย เป็นคุณหนู มีคนคอยเอาใจ ไม่ต้องซักผ้า ไม่ต้องทำอาหาร ไม่ต้องทำงานพิเศษเป็นเด็กเสิร์ฟ ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน ไม่ต้องทนอากาศหนาวเเบบติดลบ หิมะตก หรือมีฝนตกตลอดทั้งวัน ให้เวลาผ่านพ้นไปแบบสบายๆ แต่ถ้าอยู่ต่างประเทศ เราต้องทำทุกอย่างทั้งหมดด้วยตัวเอง แม้แต่การต่อสู้กับความเหงายามไกลบ้าน

การเดินทางท่ามกลาง อุปสรรคที่ผ่านเข้ามาตลอดชีวิตของการเป็นนักเรียนนอก  เป็นบทพิสูจน์ตัวเองว่าเราเองจะสามารถมีชีวิตและแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ หรือไม่ถ้าเราสามรถข้ามพ้นอุปสรรคมากมายนี้ไปได้  ตัวเราเองจะเข้มแข็งและเติบโต มีความมั่นใจ ไม่ว่าจะเจออะไรอีกในวันข้างหน้า

     เด็กนอกเก่งกว่าเด็กไทยจริงหรือ ?
มีคนไทยจำนวนไม่น้อย มองว่าผู้ที่เรียนจบ หรือมีประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างประเทศว่ามีความสามารถมากกว่าผู้ที่จบการ ศึกษาในประเทศไทย มีบางองค์กรเลือกจ้างงานกับบัณฑิตนอกเหล่านี้มากกว่าพิจารณาบัณฑิตที่จบใน ประเทศ  เพราะคิดว่าพวกเขาคงทำงานได้ดีกว่า มีคนจำนวนมากคิดว่า เด็กนอกต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าเด็กที่เรียนรู้ตลอดชีวิตในเมืองไทย

          ความเป็นจริง คือ มัน ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จตายตัวเสมอไป การทำงาน การใช้ภาษาต่างๆได้อย่างคล่องแคล่ว  การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีหรือไม่  ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า เด็กจบนอกทุกคน จะทำงานเก่งกว่า  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีกว่า ขยันขันแข็งกว่า  มีภวะผู้นำกว่า หรือมีอะไรที่เหนือกว่าเด็กไทยที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในไทย

เพราะเด็กไทยบางคนมี ทักษะการใช้ภาษา  สำเนียงการพูดที่ดีเลิศไม่แพ้นักเรียนนอก เพราะปัจจุบันมีหนทางในการฝึกฝนภาษาต่างๆมากมาย  ความสามารถในการทำงาน  ความอดทน  การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นเป็นเรื่องส่วนบุคคลไม่ใช่เรื่องของการไปต่าง ประเทศแต่อย่างใด  สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความเชื่อเฉพาะบางคนเท่านั้น  ที่คิดว่าเด็กนอกจะเก่งกว่าคนที่ไม่เคยมีโอกาสไปเรียนต่างประเทศแม้แต่ ครั้งเดียว

แต่การไปเรียนต่อต่าง ประเทศนั้น  ก็ให้อะไรมากมายต่อเราเช่นกัน  ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนภาษา แก้ปัญหาเมื่อยามที่เราต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างๆ   การเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ  ความคิดที่มองรอบด้านมากขึ้น  การเรียนรู้เพื่ออยู่กับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ  เราจะสร้างความมั่นใจในตัวได้อย่างไรสร้างภาวะการเป็นผู้นำอย่างไร  และการเรียนรู้ที่จะเอาชีวิตรอดในต่างแดนต่างหาก  คือสื่งที่มีคุณค่าที่สุดที่เราได้จากการไปเรียนต่อต่างประเทศ  ไม่ใช่ภาพลักษณ์ที่ดีแต่ภายนอภายในกลับไม่มีอะไรให้ประทับใจเอาเสียเลย   ...........................เราจะเลือกแบบไหนขึ้นอยู่ที่ตัวเราเอง


CRADIT  BY  :  http://barnkrunat.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น