วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เส้นทาง...ครู...

เส้นทางครูจาก "ยุคเก่า" สู่ "ยุคใหม่"


เขียนโดย aorwan@gmail.com | 8 สิงหาคม 2557

       ด้วยการเฝ้าสังเกต เรื่องเล่าอันหลากหลายของการพัฒนาการเรียนการสอนของคุณครูในวงแลกเปลี่ยน เรียนรู้  ที่เรากำลังผลักดันให้เป็น ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ PLC (Professional Learning Community) เราได้เห็นเส้นทางพัฒนาการของการสอนในยุคเก่า ไปสู่ยุคใหม่ ยุคของการเปลี่ยนแปลง ยุคศตวรรษที่ ๒๑ ที่เด็กต้องเผชิญกับความรู้ที่ถาโถมมากมาย  ต้องใช้ทักษะการเรียนรู้  ทักษะชีวิต และทักษะ ICT ที่จะต้องอยู่ได้ในอนาคต
        เราเห็นการเดินทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนจาก "ยุคเก่า" สู่ "ยุคใหม่"  เป็นรูปแบบนี้ค่ะ     


        แบบเดิม : การเรียนการสอนแบบเดิม หรือุคเดิมที่เราเน้นการท่องจำเนื้อหาความรู้  และครูเน้นบอก/สอนเนื้อหาความรู้ นำไปสอบได้เพราะจำเก่ง      

     ก้าวที่สอง : เหล่าคุณครู รู้ว่าการสอนความรู้แบบพูดให้จำไม่สำเร็จ  เด็กเบื่อ  จึงพยายามพัฒนา   เทคนิค, เกมส์, นวัตกรรม และแบบฝึกต่างๆ ขึ้น มาเพื่อทำให้เด็กได้จำเนื้อหาความรู้ได้มากขึ้น  แบบฝึกต่างๆ ที่ให้เด็ก อ่านออก &เขียนได้ & คิดเลขเป็น  (3R : Reading, WRiting, A Rithmetics) ซึ่งเป็น   ทักษะพื้นฐานเด็กที่ครูไทยต้องฝึกมาแต่เดิม แต่ก็ยังยากแม้ใปัจจุบัน                                             
***เราเห็นคุณครูจำนวนมากในปัจจุบัน กำลังอยู่ในก้าวที่สองนี้ มีสร้างและประกวดเทคนิค/นวัตกรรม    มากมาย***                                                                                                                  
 คุณครูเริ่มรู้ว่า "การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning)" จะทำให้เด็กสนุกและเรียนรู้ได้ดี   จึงพยายามออกแบบกิจกรรม - จนถึง PBL (Project/Problem-based Learning) ให้เด็กได้ลงมือทำเอง  บอกโจทย์, แบ่งกลุ่ม, บอกขั้นตอนการทำ และให้เด็กสร้างผลลัพธ์ที่เป็นคำตอบของโจทย์ที่ถูกต้องออกมา ทำให้ ผู้เรียนจำเนื้อหาความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติได้ดีขึ้น  และเกิดการฝึกทักษะจากการลงมือทำ ผู้เรียนสร้างชิ้นงานหรือทำโครงงานสำเร็จ เกิดความภาคภูมิใจ  คุณครูก็ภาคภูมิใจที่ชิ้นงานนวัตกรรมนั้นได้รางวัล   แต่ PBL นั้น เด็กยังไม่ได้ออกแบบขั้นตอนการทำเองสักเท่าไหร่  ไม่ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา, เชื่อมโยง หรือคิดสร้างสรรค์ และทักษะอื่นๆ มากเท่าที่ควร---เนื่องเพราะครูออกแบบวิธีทำให้เกือบหมด  และมีคำตอบที่ถูกต้องอันเดียว หรือชิ้นงานที่เป็นผลสำเร็จที่ต้องทำออกมา
      ก้าวที่สาม : 
 ***คุณครูหลายท่าน ก้าวมาสู่ PBL ขั้นนี้แล้ว***

      ก้าวที่สี่ : อาจเป็นการก้าวกระโดดที่สูงพอควรสำหรับคุณครู  ต้องก้าวข้ามคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว  ไปสู่การออกแบบ PBL ที่ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ และได้ความรู้ ไปพร้อมๆ กัน เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและชุมชน/สังคมที่กำลังอยู่  ครู ต้องฝึกเป็น "โค้ช" สร้างแรงบันดาลใจ และตั้งคำถาม ให้เด็กสร้างโจทย์จากชีวิตจริง เป็นเจ้าของโจทย์เอง  ได้ฝึกทำงานเป็นทีม ร่วมกันออกแบบวิธีการหาคำตอบที่หลากหลาย ได้ร่วมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เชื่อมโยง ใช้กระบวนการต่างๆ  ใช้ทักษะการทำงาน  การสื่อสาร  ใช้ ICT และอื่น... เพื่อหาคำตอบของผู้เรียนเอง  นำวิธีการ วิธีคิด และคำตอบมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว แต่มีคำตอบที่หลากหลาย ได้ชิ้นงานที่แตกต่าง และแม้ชิ้นงานอาจไม่สำเร็จ แต่เด็กได้ฝึกทักษะและเรียนรู้บทเรียน/ความรู้ จากการทำงานชิ้นนั้นร่วมกัน และสัมพันธ์กับชีวิตของเขาและสังคมที่เขาอยู่
 ***เราต้องการ PBL แบบนี้ ในยุคนี้มากขึ้น  แต่ต้องช่วยกันก้าวกระโดด ***

 "จากสถานการณ์ที่สังเกตเห็นในการทำงานและเขียนออกมานี้  อาจไม่ถูกเช่นกัน อย่าเชื่อมากนะคะ  ลองสังเกตด้วยตัวเองแล้วมาคุยกันค่ะ"  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น